ทุกวันนี้ ดูเหมือนว่าทุกอย่างรอบตัวล้วนทำให้คนเรา #เครียด ง่ายขึ้น 🤬 ไม่ว่าจะเป็นปัญหารถติด, ตกงาน, หนี้สิน, มลภาวะ, โรคภัยไข้เจ็บ ฯลฯ ทุกอย่างล้วนประดังประเดกันเข้ามา ทำให้คนยุคนี้เกิดอาการเครียดขึ้นมาได้ง่ายๆ
.
ในตอนที่เราเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ทำเกิดปฏิกิริยาต่างๆ เช่น หายใจถี่, หัวใจเต้นเร็ว, เจ็บหน้าอก, ความดันโลหิตสูง, ปวดหรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย หลัง หรือไหล่ ฯลฯ อาการเหล่านี้เป็นปฏิกริยาอัตโนมัติของร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ตึงเครียดต่างๆ แต่หากกลไกนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ อาจทำให้ #เสียสุขภาพ หรือแม้แต่ #เสียชีวิต ได้
.
ลองไปดูกันดีกว่าว่าหากเราเครียดบ่อยๆ หรือเครียดสะสม จะเกิดผลเสียต่อร่างกายในด้านใดบ้าง และหากรู้แล้วอย่ารอช้า พยายามหาวิธีคลายเครียดกันสักหน่อย อย่าปล่อยให้ร่างกายทรุดโทรมเพราะความเครียดที่เราควบคุมไม่ได้เลยนะครับ 😊
😷 เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
อาการเครียดสะสมนั้นอันตรายยิ่งกว่าความเครียดฉับพลัน เพราะอาการนี้จะทำให้ความสุขของคุณลดลง ซึ่งจะนำไปสู่โรคเครียดได้ ซึ่งโรคนี้จะทำให้นอนหลับยากขึ้น นานไปจะกลายเป็นโรคนอนไม่หลับ ซึ่งจะยิ่งมีผลกระทบต่ออารมณ์และนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น
🍨 น้ำตาลในเลือดสูง
รู้หรือไม่? ความเครียดทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ด้วย! แม้จะฟังดูไม่ค่อยเกี่ยวโยงกันเท่าไร แต่ความเครียดอย่างรุนแรงอาจไปกระตุ้นให้ตับส่งน้ำตาล (กลูโคส) ออกมาสู่ระบบหมุนเวียนเลือดมากเป็นพิเศษ ซึ่งหากนานไปจะเพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ (ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลีนได้)
สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว ความเครียดจะไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นหรือลดต่ำลงอย่างผิดปกติ และอาจทำให้เกิดอาการช็อกและเสียชีวิตได้
🤧 ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
ความเครียดสะสมระยะยาวจะไปกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ และทำให้ติดเชื้อไวรัสหรือเกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น จึงเพิ่มโอกาสที่คุณจะป่วยได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเล็กๆ อย่างไข้หวัด หอบหืด ภูมิแพ้ต่างๆ โรคผิวหนัง ผมร่วง ฯลฯ ไปจนถึงโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็ง โดยมีงานวิจัยที่ระบุว่าความเครียดต่อเนื่องผู้ที่มีความเครียดสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติ
😖 ระบบย่อยอาหารมีปัญหา
คนเป็นโรคเครียดส่วนใหญ่มักมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เนื่องจากความเครียดทำให้ระบบย่อยทำงานไม่ดี นำไปสู่อาการปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย และโรคกระเพาะ
นอกจากนี้ ผู้ที่มีความเครียดสูงบางรายยังมีพฤติกรรมทานเยอะขึ้น รวมถึงอยากทานสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น อยากทานของหวาน อาหารขยะ ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่ ซึ่งจะทำให้สุขภาพแย่ลงกว่าเดิมในภาพรวม
💔 เสี่ยงต่อสภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
อาการเครียดสะสมสามารถส่งผลทางลบต่อระบบหัวใจและเส้นเลือดอย่างมาก ทำให้การอักเสบในหลอดเลือดหัวใจแย่ลง และทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายเปลี่ยนไป เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลวอีกด้วย